วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เงื่อนไข และเงื่อนเวลา


ลักษณะของ "เงื่อนไข และเงื่อนเวลา"

"เงื่อนไข"
1.ความหมายของเงื่อนไข
ป.พ.พ.มาตรา182 บัญญัติว่า "ข้อความใดอันบังคับไว้ให้นิติรรมเป็นผลหรือสิ้นผล ต่อเมื่อมีเหตุการณ์อัน ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความนั้นเรียกว่าเงื่อนไข"
สรุป. เงื่อนไข คือ เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน ซึ่งผู้ทำนิติกรรม นำมากำหนดเกี่ยวกับความ "เป็นผล" หรือ "สิ้นผล" ของนิติกรรม

2.ชนิดของเงื่อนไข
ป.พ.พ. มาตรา183 บัญญัติว่า " นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน นิติกรรมนั้นย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จเเล้ว
                                                 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลัง นิติกรรมนั้นย่อมสิ้นผล ในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว"
จากบทบัญญัติดังกล่าว เงื่อนไขนั้นมี 2 ประเภท
2.1) เงื่อนไขบังคับก่อน
ตามป.พ.พ.มาตรา183 วรรค1 หมายถึงเหตุกราณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ซึ่งผู้ทำนิติกรรมกำหนดไว้ว่า หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหรือเงื่อนไขนั้นสำเร็จ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นผล
2.2)เงื่อนไขบังคับหลัง
ตามป.พ.พ.มาตรา183 วรรค2 หมายถึงเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ซึ่งผู้ทำนิติกรรม วางเป็นข้อกำหนดแห่งนิติกรรมว่า หากเกิดขึ้น ก็ให้นิติกรรมนั้นสิ้นผลไป

3.เงื่อนไขที่ไม่สมบูรณ์
เงื่อนไขที่ไม่สมบูรณ์ ย่อมไม่มีผล เหนี่ยวรั้งการเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มี4กรณี คือ
3.1) เงื่อนไขที่สำเร็จแล้ว หรือไม่อาจสำเร็จ ในเวลาทำนิติกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา187
3.2) เงื่อนไขที่ไชอบด้วยกฏหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศัลธรรมอันดีของสังคม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา188
3.3) เงื่อนไขที่เป็นการพ้นวิสัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา189
3.4) เงื่อนไขบังคับก่อนซึ่งสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา190

4.ผลของนิติกรรมที่มีเงื่อไข
แยกได้2ประเภท คือ
4.1) ผลในระหว่างเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ
4.2) ผลในเมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้ว


"เงื่อนเวลา"
1.ความหมายของเงื่อนเวลา
คือ ข้อกำหนดอันเกิดจากการแสดงเจตนาระหว่างโดย อาศัยเหตุการณ์อันในอนาคตอันมีลักษณะแน่นอน เพื่อเหนี่ยวรั้งมิให้นิติคู่กรณี ในนิติกรรมมีผลก่อนถึงกำหนด หรือให้นิติกรรมนั้นสั้นผลเมื่อถึงกำหนดตามที่ได้ตกลงกันไว้
"เหตุการณ์ในอนาคตที่แน่นอน" ซึ่งคู่กรณีในนิติกรรมจะนำมากำหนดเป็นเงื่อนเวลาได้นี้มี 2 ลักษณะ
คือ
1.1) เหตุการณ์ในอนาคตที่แน่นอนและรู้อยู่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด เช่นการกำหนดตามปีปฏิทิน
1.2) เหตุการณ์ในอนาคตที่แน่นอน แต่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด เช่นการกำหนดตามความตายของบุคคล หรือตลอดอายุของบุคคล

2.ประเภทของเงื่อนเวลา
ป.พ.พ. มาตรา191 บัญญัติว่า "นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ห้ามมิให้ทวงถามให้ปฏิบัติการตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงเวลากำหนด
                                                นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาสิ้นสุดกำหนดไว้ นิติกรรมนั้นย่องสิ้นผลเมื่อถึงเวลากำหนด"
จากบทบัญญัติในป.พ.พ. มาตรา191 เงื่อนเวลามี 2 ประเภท คือ
2.1) เงื่อนเวลาเริ่มต้น เป็นกรีณีที่นำเอาเหตุการณ์ในอนาคตที่แน่นอน คือ "เวลา" มากำหนดความเป็นผลแห่งนิติกรรม
2.2) เงื่อนเวลาสิ้นสุด เป็นกรณีนำเหตุการณ์ในอนาคตที่แน่นอน คือ "เวลา" มากำหนดสิ้นผล ของนิติกรรม หมายความว่า นิติกรรมที่ทำนั้นมีผลไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เวลาที่ทำนิติกรรม แต่เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ นิติกรรมนั้นก็จะสิ้นผลไปเอง โดยไม่มีใครต้องมาทำอะไรอีก


ความเหมือนระหว่าง เงื่อนไขกับเงื่อนเวลา

เงื่อนไขกับเงื่อนเวลา ต่างก็เป็นข้อกำหนดเหตุการณ์ในอนาคตเหมือนกัน


ความแตกต่างระหว่าง เงื่อนไขกับเงื่อนเวลา

เงื่อนไข
1.เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน
2.สิทธิที่เกิดคือสิทธิในความหวัง คือหวังว่าจะเกิดสิทธิในนิติกรรม ซึ่งอาจจะไม่เกิดก็ได้
3.ชำระหนี้ก่อน-คืนได้ หากว่าไม่เกิดเหตุการณ์ที่ตกลงกันไว้
4.มีกฎหมายที่เกี่ยวกับโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา188-190)
5. เรื่องผลย้อนหลัง กฎหมายยอมให้คู่กรณีตกลงกัน ได้ว่าเมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้วให้นิติกรรมมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาใดเลวาหนึ่ง ก่อนเงื่อนไขสำเร็จ

เงื่อนเวลา
1.เหตุการณืในอนาคตที่แน่นอน
2.สิทธิที่เกิดคือสิทธิรอคอย
3.ชำระหนี้ก่อน-คืนไม้ได้ เพราะถือว่าลูกหนี้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเอง
4.ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับโมฆะ
5.ไม่มีเรื่องผลย้อนหลัง



บรรณานุกรม
จี๊ด เศรษฐบุตร.                หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและหนี้, พิมพ์ครั้งที่3
                                        กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล. 2524
ไชยยศ เหมะรัชตะ.          กฎหมายว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา, พิมพ์ครั้งที่3
                                        กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2540
ประกอบ นุตะสิงห์            ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าวยนิติกรรมและสัญญา
                                        กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นิติบรรณการ. 2539
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม1.
                                        กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์. 2520
อัครวิทย์ สุมาวงศ์           คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรม-สัญญา
                                        จัดพิมพ์โดย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา





1 ความคิดเห็น: